สสอ.น้ำยืน ตรวจเยี่ยมจุดบริการประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๐
สสอ.น้ำยืน ตรวจเยี่ยม จุดบริการประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๐ ณ จุดสามแยกบ้านดวน ต.โซง อ.น้ำยืน
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำยืน
เป็นนายตัวเอง เร่งสร้างสิ่งใหม่ ใส่ใจประชาชน ถ่อมตนอ่อนน้อม
สสอ.น้ำยืน ตรวจเยี่ยม จุดบริการประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๐ ณ จุดสามแยกบ้านดวน ต.โซง อ.น้ำยืน
ประชุมการพัฒนาคุณภาพข้อมูล 43 แฟ้ม นำทีมโดย ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอน้ำยืน ,ผอ.รพ.สต.ค้อ/โนนสูง และยุทธศาสตร์ และได้มีนายแพทย์จังหวัพอุบลราชธานีร่วมเปิดการประชุมในครั้งนี้
วันที่ 9 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอน้ำยืน นายสากล สีทากุล สาธารณสุขอำเภอน้ำยืน พร้อมด้วย นายชัยวัฒน์ ศรีทอง ประธานชมรม ผอ.รพ.สต.อำเภอน้ำยืน ,นางสาววาสนา วิถี ผอ.รพ.สต.ยางใหญ่ ,นางสาววาสนา ศรีพูล หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์ สสอ.น้ำยืน ,นางสาวณภัสรันช์ สามิลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำยืน ได้ร่วมกิจกรรมวันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอน้ำยืน และสนับสนุนเงินบางส่วนเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่กำนัน และ ผู้ใหญ่บ้าน และขอบคุณในการร่วมปฏิบัติงานบำบัดทุกข์ บำรุงสุขพี่น้องประชาชน มาโดยตลอดโดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มี นายอาทิตย์ บุษบา นายอำเภอน้ำยืน เป็นประธาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อำเภอน้ำยืน ทุกท่านร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องและแสดงความขอบคุณต่อ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและการสนับสนุนภารกิจของรัฐบาล ตลอดจนงานสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2560 เวลา 13.00 ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำยิน ตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน นายชวน จันทร์เลื่อน สาธารณสุขอำเภอน้ำยืน ประชุมการจัดกิจกรรม วันอสม.แห่งชาติ ประจำปี 2560 เพื่อเตรียมกำหนดการจัดงานวัน อสม.แห่งชาติซึ่งจัดอยู่ในงานของกระทรวงสาธารณสุข
วันนี้ (21 มกราคม 2559) นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไต้หวัน เฝ้าระวังและตรวจพบชายไทยที่กำลังเดินทางสู่ไต้หวันมี เชื้อไวรัสซิกา ที่กำลังระบาดในหลายประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียน นั้น เมื่อวานนี้(20 มกราคม 2559) กรมควบคุมโรค ได้ประชุมปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง โรคไข้ซิกา เพื่อเตรียมการเฝ้าระวังและหารือมาตรการป้องกันโรคดังกล่าว โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค เป็นประธาน พร้อมคณะที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ผู้ทรงคุณวุฒิฯ กรมควบคุมโรค คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับสถานการณ์โรค ไข้ซิกา ประเทศไทยพบครั้งแรก พ.ศ.2555 พบกระจายทุกภาคและมีผู้ป่วยยืนยันเฉลี่ยปีละ 5 ราย สาเหตุหลักเกิดจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด และช่องทางอื่นที่เป็นไปได้ เช่น การแพร่ผ่านการถ่ายเลือด แพร่จากจากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ ทั้งนี้ ได้เตรียมการเฝ้าระวังโรค โดยแบ่งเป็น 4 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1.การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2.การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา 3.การเฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิด และ 4.การเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบประสาท
ด้านการรักษา โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนและยังไม่มียารักษาเฉพาะ จึงต้องรักษาตามอาการ คำแนะนำสำหรับประชาชน คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก หากประชาชนมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตรายสำหรับการเป็นโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกา(ประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียน) ขอให้ผู้เดินทางระมัดระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวให้มิดชิด และใช้ยาทาป้องกันยุงกัด หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคควรปรึกษาแพทย์
ส่วนผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในประเทศไทย มีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ สามารถมารับการรักษาและปรึกษาได้ที่คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้เตรียมจัดทำประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง“ โรคไข้ซิกา ” เพื่อให้ประชาชนตระหนักในมาตรการป้องกันโรคและช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเน้นใช้หลัก 3เก็บ ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะ รอบๆบ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ3.เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริเวณครัวเรือน โรงเรียน เขตก่อสร้าง สถานีขนส่ง และหอพักรอบมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยให้ดำเนินการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ที่มา http://health.mthai.com/knowledge/12473.html